Kannika Nasawat

ดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างไรไม่ให้พังเร็ว!

ดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างไรไม่ให้พังเร็ว!        คอมพิวเตอร์เมื่อใช้ไประยะหนึ่งจะมีการเสื่อมชำรุดไปตามสภาพระยะเวลาที่ใช้งาน ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรเอาใจใส่ ดูแลและบำรุงรักษา อย่างเหมาะสมสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มอายุ การใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะช่วยให้สามารถ ประหยัดงบประมาณในการซ่อมบำรุงหรือการเปลี่ยนอุปกรณ์ สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมที่คอมพิวเตอร์ของคุณจะทำงานได้ดีนั้นคืออย่างไร เช่น ในห้องคอมพิวเตอร์ของคุณควรจะมีอุณหภูมิสูงเท่าไร มีความชื้นไม่เกินเท่าไร ขีดจำกัดของการทำงานเป็นอย่างไร ระยะเวลาในการทำงานของเครื่องเป็นอย่างไร ดังนั้น ห้องทำงานด้านคอมพิวเตอร์จึงควรเป็นห้องปรับอากาศที่ปราศจากฝุ่นและ ความชื้น ซอฟแวร์ แผ่นดิสก์ที่เก็บซอฟแวร์ และไฟล์ข้อมูล หรือสารสนเทศนั้น อาจเสียหายได้ ถ้าหากว่า แผ่นดิสต์ได้รับการขีดข่วน ได้รับความร้อนสูง หรือตกกระทบกระแทกแรง ๆ สิ่งที่ทำ ลายซอฟแวร์ได้แก่ ความร้อน ความชื้น ฝุ่น ควัน และการฉีดสเปรย์พวกน้ำยาหรือน้ำหอม ต่าง ๆ เป็นต้น การทำความสะอาดระบบคอมพิวเตอร์ 1. ไม่ควรทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะที่เครื่องยังเปิดอยู่ ถ้าคุณจะทำความ สะอาดเครื่อง ควรปิดเครื่องทิ้งไว้ 5 นาที ก่อนลงมือทำความสะอาด 2. อย่าใช้ผ้าเปียก ผ้าชุ่มน้ำ เช็ดคอมพิวเตอร์อย่างเด็ดขาด ใช้ผ้าแห้งดีกว่า 3. อย่าใช้สบู่ น้ำยาทำความสะอาดใด ๆ กับคอมพิวเตอร์ เพราะจะทำให้ระบบของเครื่อง เกิดความเสียหาย 4. ไม่ควรฉีดสเปรย์ใด ๆ ไปที่คอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ 5. ไม่ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นกับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ 6. ถ้าคุณจำเป็นต้องทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรดใช้อุปกรณ์ทำความสะอาด ที่คู่มือแนะนำไว้เท่านั้น 7. ไม่ควรดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มต่าง ๆ ในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์ 8.…

0
Read More

ระบบดาต้าเซ็นเตอร์แบบ Edge คืออะไร ? และหน้าตาเป็นอย่างไร ?

ระบบดาต้าเซ็นเตอร์แบบ Edge คืออะไร ? และหน้าตาเป็นอย่างไร ? ดาต้าเซ็นเตอร์แบบ Edge นั้นถูกสร้างขึ้นในหลากหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณใกล้กับเสาสัญญาณ Wi-Fi ขนาดใหญ่เพื่อรองรับการให้บริการโครงข่าย 5G, ตามหัวมุมถนนเพื่อรองรับระบบจัดการจราจรอัจฉริยะและรถยนต์ที่ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง, ในสำนักงานกลาง, หรือแม้แต่ภายในหรือบริเวณติดกับโรงงานอุตสาหกรรมหรืออาคารขององค์กรเช่น ศูนย์บริการทางการแพทย์ หรือพื้นที่ของมหาวิทยาลัย เมื่อเปรียบเทียบกับดาต้าเซ็นเตอร์บนคลาวด์ขนาดใหญ่ หรือแบบ Co-location แล้ว ดาต้าเซ็นเตอร์แบบ Edge จะมีขนาดค่อนข้างเล็กกว่า และมีขนาดได้ตั้งแต่แบบเล็กมากที่กินพื้นที่แค่ไม่กี่ Rack เก็บอยู่ในตู้ที่ตั้งตามหัวถนน, หรืออาจเต็มทั้งตู้ชั้น Rack เพื่อรองรับการประมวลผลข้อมูลของอาคารหนึ่ง, ไปจนถึงตู้ Rack หลายตู้ที่อยู่ในห้องดาต้าเซ็นเตอร์ของเสาสัญญาณ 5G, หรือแม้กระทั่วเป็นตู้ Rack จำนวนกว่า 40 – 50 ตู้ที่ตั้งอยู่ภายใต้สำนักงานใหญ่ของตัวเมือง สิ่งหนึ่งที่ควรระลึกไว้สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์แบบ Edge คือ ดาต้าเซ็นเตอร์แบบนี้ก็ยังคงมีเอกลักษณ์ของความเป็นดาต้าเซ็นเตอร์ ไม่ว่าจะมีระบบการใช้พลังงาน, การทำความเย็น, การเดินสายเคเบิล, และการเชื่อมต่อต่างๆ ลักษณะเดียวกันกับดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วไป เพียงแค่มีขนาดเล็กกว่ามากเท่านั้น ดาต้าเซ็นเตอร์ประเภทนี้ยังใช้ระบบมาตรฐานเดียวกันอย่างเช่นมาตรฐาน TIA-942-A ที่ระบุไว้ตั้งแต่ห้องทางเข้า, พื้นที่การเชื่อมต่อหลัก, พื้นที่ระบบเชื่อมต่อรอง, และพื้นที่จัดวางอุปกรณ์เชื่อมต่อ ดังนั้นดาต้าเซ็นเตอร์แบบ Edge อาจมีการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายของผู้ให้บริการ, คอร์สวิตชิ่ง, สวิตช์ Intermediate, และเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ รวมอยู่ภายในตู้เดียวกัน และเนื่องจากการรวมทุกอย่างผสานเข้าไปอยู่ในพื้นที่ขนาดเล็กกว่าปกติ ทำให้ดาต้าเซ็นเตอร์แบบ Edge มักมีความหนาแน่นต่อตู้มากกว่า ทั้งด้านจำนวนการเชื่อมต่อและความต้องการพลังงาน จำเป็นต้องมีการทดสอบสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์เช่นกัน เนื่องจากดาต้าเซ็นเตอร์แบบ Edge ก็ยังเป็นดาต้าเซ็นเตอร์รูปแบบหนึ่ง หมายความว่าการทดสอบที่คุณเคยทำกับดาต้าเซ็นเตอร์ปกติก็ยังใช้ได้กับแบบ Edge เช่นกัน โดยในดาต้าเซ็นเตอร์แบบนี้ คุณสามารถพบกับการเชื่อมต่อผ่านสายไฟเบอร์แบบซิงเกิลโหมดเพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ของผู้ให้บริการ, การเชื่อมต่อผ่าน MPO แบบมัลติโหมดที่เชื่อมระหว่างสวิตช์, ไปจนถึงสายเคเบิลแบบสายทองแดง หรือสาย SFP+ /…

0
Read More

DNS Server คืออะไร? แล้วเราจะใช้เมื่อไหร่?

เซิร์ฟเวอร์โดเมนเนม หรือ Domain Name Servers (DNS) นั้นเปรียบเหมือนแกนหลักของโลก World Wide Web เลยทีเดียว ด้วยการเก็บข้อมูลปริมาณมหาศาลเกี่ยวกับเว็บไซต์และโดเมนต่างๆ ทำให้อุปกรณ์ทั้งหลายอย่างแล็ปท็อป เดสก์ท็อป หรืออุปกรณ์พกพาอย่างมือถือและแท็บเล็ตสามารถเชื่อมต่อกับเว็บไซต์ที่ต้องการเยี่ยมชมได้เสมอ บางทีคุณอาเคยได้ยินคำว่า “NS” หรือเนมเซิร์ฟเวอร์ด้วย ซึ่งเวลาที่เปลี่ยนเครื่องโฮสต์ขณะที่รันหน้าเว็บอยู่นั้น NS เองก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ DNS และมีบทบาทสำคัญในการทำโฮสติ้งอย่างมาก ด้วยการจัดการคำร้องขอเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งเซิร์ฟเวอร์ที่มาจาก DNS ทำให้เราสามารถใช้ชื่อโดเมนแทนการระบุเป็นที่อยู่ไอพีตรงๆ เราจะใช้เซิร์ฟเวอร์ DNS เมื่อไร?เมื่อมีการเปิดเว็บบราวเซอร์แล้วพิมพ์ URL ของเว็บไซต์ ตัวแปลงที่อยู่ของ DNS (DNS Resolver) จะเริ่มสแกนเว็บเพื่อหาที่อยู่ไอพีของชื่อโดเมนที่คุณพิมพ์เข้ามา ตัวแปลงที่อยู่นี้จะคอยหาตำแหน่งที่จัดเก็บข้อมูลดังกล่าวโดยตรวจสอบจากเซิร์ฟเวอร์ DNS ณ เวลานั้นๆ เมื่อตัวแปลงที่อยู่หาตำแหน่งของที่อยู่ไอพีดังกล่าวได้แล้ว ก็จะเปิดรับคอนเท็นต์ต่างๆ ไหลเข้ามายังผู้ใช้ที่ร้องขอ ที่จะเริ่มได้เห็นหน้าตาเว็บไซต์อย่างที่ควรจะเป็น องค์ประกอบของคอนเท็นต์นั้นอาจรวมถึงอินเทอร์เฟซใช้งานหรือ UI หลากหลายแบบ อย่างเช่นรูปภาพ หน้าตาเว็บ หรือองค์ประกอบอื่นๆ ที่มองเห็นได้ แล้วเซิร์ฟเวอร์ DNS เกิดขึ้นหรือมาจากไหน?ปกติแล้ว ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) จะรัน DNS ของตัวเองด้วยเราเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเกตเวย์ระหว่างอุปกรณ์และ DNS โดยคำร้องขอข้อมูลไอพีจะถูกส่งไปยังตัว DNS ของ ISP เพื่อมองหาข้อมูลเว็บไซต์ที่เก็บไว้ ที่มา : https://www.enterpriseitpro.net

0
Read More
มาตรฐานที่บริษัทได้รับ
Contact Us

บริษัท ไอ ที บี ที คอร์ปอเรชั่น จำกัด
ที่อยู่ : 170/372 หมู่ 1 ตำบลบางคูวัด
อำเภอเมืองปทุมธานี
จังหวัดปทุมธานี 12000
Tel/Fax : 02-1014461
Hotline 24 ชม. : 091-7598087
Email 1 : service@itbtthai.com
Email 2 : itbtthai@gmail.com
Line ID : @itbtthai (มี @ ด้านหน้า)
Fanpage : ITBT Technology Solutions System

office hours

วันเวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์
ตั้งแต่เวลา 08:00 – 17:00 น.
เว้นวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

DBD Registered

Copyright 2020 © ITBT Corporation Co., Ltd. All Rights Reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save